วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประวัติอำเภองาว

ประวัติอำเภองาว

          อำเภองาวเดิมมีชื่อว่าเมืองเงินเป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงคราม มีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าวเป็นอาวุธสำคัญเมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อหัวเมืองเขินเข้ามารุกรานก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าไปถึงเมืองเขลางค์นครได้ เพราะเมื่อมาถึงเมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้งเจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยวที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขิน จนถึงแคว้นสิบสองปันนาได้รับชัยชนะจนเป็นที่ร่ำลือเจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงินเป็นบำเหน็จคุณงามดีและความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมือง จึงเรียกเจ้าเมืองว่าพระยาง้าวเงินและเรียกชื่อเมืองว่าเมืองง้าวเงินกาลเวลาผ่านมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองงาวตามลำดับ
อีกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมืองงาวเป็นสถานที่ประทับและสวรรคตของพ่อขุนงำเมืองเจ้าเมืองพะเยา สหายร่วมน้ำสาบานกับสองมหาราชคือพญามังรายมหาราชแห่งนครเชียงใหม่และพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยตามตำนานกล่าวไว้ว่า "เมื่อพ่อขุนงำเมืองได้มอบราชกิจต่าง ๆในการปกครองบ้านเมืองให้พญาคำแดงราชบุตรแล้วเสด็จได้ไปประทับพักผ่อนที่เมืองงาว ปีพ.ศ. 1841พ่อขุนงำเมืองก็สิ้นพระชนม์ รวมพระชนมายุได้ 60 ปี"

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภองาว ลำปาง
             สถานที่ท่องเที่ยวอำเภองาว ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง  เป็นอำเภอเล็กบรรยากาศสงบเมืองงาวเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณมีอายุกว่า 700 ปี  มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาตร์  วัฒนธรรมมีธรรมชาติอันบริสุทธิ์ และวิถีชีวิตชนเป่าที่งดงามอำเภองาวเดิมมีชื่อว่าเมืองเงินเป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญของเมือง เขลางค์นคร(ลำปาง)เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงครามมีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าว เป็นอาวุธสำคัญเมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อหัวเมืองเขินเข้ามารุกรานก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าไปถึงเมืองเขลางค์นครได้ เพราะเมื่อมาถึง เมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้งเจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยวที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขินจนถึงแคว้นสิบสองปันนาได้รับชัยชนะจนเป็นที่ร่ำลือเจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงิน เป็นบำเหน็จคุณงามดีและความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมืองจึงเรียกเจ้าเมืองว่าพระยาง้าวเงินและเรียกชื่อเมืองว่าเมืองง้าวเงินกาลเวลาผ่านมา ได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองงาว 

วัดจองคำงาว

ตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาวห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตรวัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปางสถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณเมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการหลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้น เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญวัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปางและเป็นโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปางแต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึงป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมากเจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราชในราชทินนามว่าพระราชปริยัติโยดม


น้ำตกแม่แก้ 



น้ำตกแม่แก้ ตั้งอยู่ในเขต บ้านแม่แก้ อำเภองาว จังหวัดลำปางเป็นน้ำตกขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณ เป็นน้ำตกหินปูนที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของอำเภองาว สูงประมาณ 10เมตรและยังมีชั้นเล็ก ๆ อีก 6 – 7ชั้นมีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศน์อยู่มาก 

หล่มภูเขียว



ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บนภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 1-2 ไร่มีลักษณะคล้ายปล่องภูเขาไฟน้ำในแอ่งลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียวมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากสภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากการเดินทางหล่มภูเขียวอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)จากเส้นทางสายลำปาง-พะเยา เข้าไป ประมาณ 14 กิโลเมตรซึ่งเป็นทางแยกไปสู่หมู่บ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปางเส้นทางเป็นทางลูกรัง จากบ้านอ้อนมีทางเดินเท้าไปหล่มภูเขียว;ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท


ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองลำปางกับอำเภองาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กิโลเมตร ตรงกิโลเมตรที่ 768-769 แยกเข้าทางลูกรัง ประมาณครึ่งกิโลเมตรรถยนต์เข้าถึงเชิงถ้ำภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมากสลับซับซ้อนและมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยมากมายที่มีความสวยงามแตกต่างกันไปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไทในครั้งนั้นได้จารึกพระปรมาภิไธย ย่อ ปปร.ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมทางอุทยานฯ ไม่มีบ้านพักบริการรายละเอียดให้ติดต่อฝ่ายจัดการอุทยานแห่งชาติ
การเดินทาง ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวลำปาง-เชียงรายอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665 ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยาประมาณ 65 กิโลเมตร หรือจะเดินทางโดยใช้เส้นทางสาย แพร่-งาว-เชียงรายก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ


พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง 


พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ย้อนยุคซึ่งสร้างคุณโดย คุณมานิตย์ วรฉัตร  ด้วยเงินทุนของตนเอง ในอดีตคุณมานิตย์เคย ทำงานเป็นนักพากย์หนังกลางแปลงมาแล้วมากมาย รวมทั้งเป็นทีมงานพากย์พันธมิตรที่ให้เสียงพากย์ภาพยนตร์มากมาย ภายในพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมภาพยนตร์ไทยเรื่องดีและดัง  โปสเตอร์หนังรวมทั้งอุปกรณ์ในการฉายหนังกลางแปลง ประเภทต่างๆ
รายละเอียด ที่ตั้ง 24/2 หมู่ 9 ซอยบ้านท่าเจริญ ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลำปาง  เปิดบริการให้เข้าชมฟรีทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. ทุกวัน หยุดวันนักขัตฤกษ์ 054-365561,081-0304017 ติดต่อคุณมานิตย์ วรฉัตร


สะพานโยง 

สะพานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย     เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ.  ๒๔๘๕ ทหารญี่ปุ่นไม่ยอมใช้สะพานนี้ลำเลียงพลและทหารลูกพระอาทิตย์เหล่านั้นได้ร่วมมือกับชาวบ้านช่วยกันอำพรางสะพานนี้ด้วยต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ทำให้สะพานนี้กลายเป็นป่าที่เขียวครึ้มไปสะพานโยงจึงรอดจากการบอมบ์ของกองทัพพันธมิตรเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าวิศวะกรผู้ออกแบบและอำนวยการสร้างสะพานเป็นชาวเยอรมันเพื่อนน้ำมิตรของญี่ปุ่นนั่นเอง หากว่าฝรั่งชาติอื่นสร้างสะพานโยงคงจะอายุไม่ถึง ๘๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้อย่างแน่นอนสะพานโยงจึงเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอำเภองาว


วัดพระธาตุม่อนทรายนอน



อดีตกาลที่ผ่านมา เมื่อพระโพธิสัตว์ได้เกิดมาเป็นทรายคำ (เนื้อทราย) ในครั้งนั้นมีนายพรานป่าผู้หนึ่งเที่ยวล่าสัตว์เพื่อยังชีพของตนเอง ก็พอดีได้มาพบทรายคำโพธิสัตว์มีลักษณะผิวพรรณผุดผ่องสง่างามดุจทองคำ นายพรานไล่ตามพระโพธิสัตว์ไป ด้วยความเหน็ดเหนื่อยที่ถูกนายพรานไล่ตาพระโพธิสัตว์ได้คาบมะม่วงไว้และไม่ได้คายทิ้งขณะที่วิ่งหนี จนกระทั่งมาถึงภูเขาลูกหนึ่งได้พักนอนและคายเม็ดมะม่วงทิ้ง เขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ม่อนทรายนอน” เม็ดมะม่วงที่คายไว้ได้เจริญงอกงามขึ้นและยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “บุคคลใดจะก่อร่างสร้างแปงหรือจักทำบุญก็ให้บูชาเทวดาองค์ที่รักษาต้นมะม่วงด้วยเครื่องบูชา ช่อเหลือง 8 ช่อ ช่อเขียว 8 ช่อ ข้าวต้ม ขนม กล้วย อ้อย ส้ม ของหวาน ก็จักเป็นสิริมงคลแก่บุคคลผู้นั้นแล “.
พระธาตุม่อนทรายนอน สร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานสร้างครั้งสมัยเชียงแสน สูงจากระดับน้ำทะเล 489 เมตร องค์พระธาตุสูง 56วา เป็นศิลปะล้านนาผสมพม่า ข้างองค์พระธาตุบนดอยมีหลักจารึกด้วยอักษรตัวเมืองเหนือและอักษรพม่าจารึกไว้
เอกสารเผยแพร่งานนมัสการพระธาตุม่อนทรายนอน 3-5 มีนาคม 2520 


                           วัดพระธาตุม่อนทรายเหงา


วัดพระธาตุม่อนทรายเหงา ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลำปาง ชาวบ้านตำบลแม่ตีบให้ความเคารพนับถือมาช้านาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

Sample text

Sample Text

Sample Text

 
Blogger Templates