วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศูนย์อาเซียนศึกษาแหล่งเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ห้องสมุดประชาชนอำเภองาว

ศูนย์อาเซียนศึกษาแหล่งเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ห้องสมุดประชาชนอำเภองาว


          ศูนย์อาเซียนศึกษาแหล่งเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องสมุดประชาชนอำเภองาวห้องสมุดประชาชนอำเภองาว  ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดนางเหลียว  ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว โดยมีนางนงนุช  ถาวรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว ตั้งอยู่เลขที่  1 หมู่ 3 ถนนพหลโยธิน    อำเภองาว  จังหวัดลำปาง  52110  โทร: 054 -261546 , โทรสาร: 054 -261546        
          ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อ ให้บริการแก่ นักศึกษากศน. เด็ก เยาวชน ละประชาชนทั่วไป เพื่อศึกษาหาความรู้ เตรียมความพร้อมเข้าสู้ AEC กิจกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้รับบริการได้เข้าร่วม ก็จะมีสื่อ/หนังสือ ต่างๆเกี่ยวกับประเทศอาเซียน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน อาทิ เช่น กิจกรรมวาดภาพระบายสีประเทศอาเซียน กิจกรรมอาเซียนพาเพลิน กิจกรรมตอบปัญหาน่ารู้เกี่ยวกับ10ประเทศอาเซียน เป็นต้น ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายเป็นจำนวนมาก ซึ่งห้องสมุดประชาชน เปิดให้บริการแก่ประชาชน วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น.    

                   รูปภาพประกอบมุมอาเซียนศึกษา ภายในห้องสมุดประชาชนอำเภองาว       
         














รูปภาพประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอาเซียนศึกษา
















          

ประวัติอำเภองาว

ประวัติอำเภองาว

          อำเภองาวเดิมมีชื่อว่าเมืองเงินเป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงคราม มีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าวเป็นอาวุธสำคัญเมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อหัวเมืองเขินเข้ามารุกรานก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าไปถึงเมืองเขลางค์นครได้ เพราะเมื่อมาถึงเมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้งเจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยวที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขิน จนถึงแคว้นสิบสองปันนาได้รับชัยชนะจนเป็นที่ร่ำลือเจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงินเป็นบำเหน็จคุณงามดีและความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมือง จึงเรียกเจ้าเมืองว่าพระยาง้าวเงินและเรียกชื่อเมืองว่าเมืองง้าวเงินกาลเวลาผ่านมาได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองงาวตามลำดับ
อีกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ เมืองงาวเป็นสถานที่ประทับและสวรรคตของพ่อขุนงำเมืองเจ้าเมืองพะเยา สหายร่วมน้ำสาบานกับสองมหาราชคือพญามังรายมหาราชแห่งนครเชียงใหม่และพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยตามตำนานกล่าวไว้ว่า "เมื่อพ่อขุนงำเมืองได้มอบราชกิจต่าง ๆในการปกครองบ้านเมืองให้พญาคำแดงราชบุตรแล้วเสด็จได้ไปประทับพักผ่อนที่เมืองงาว ปีพ.ศ. 1841พ่อขุนงำเมืองก็สิ้นพระชนม์ รวมพระชนมายุได้ 60 ปี"

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภองาว ลำปาง
             สถานที่ท่องเที่ยวอำเภองาว ตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง  เป็นอำเภอเล็กบรรยากาศสงบเมืองงาวเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณมีอายุกว่า 700 ปี  มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาตร์  วัฒนธรรมมีธรรมชาติอันบริสุทธิ์ และวิถีชีวิตชนเป่าที่งดงามอำเภองาวเดิมมีชื่อว่าเมืองเงินเป็นหัวเมืองหลักเมืองหนึ่งของอาณาจักรล้านนามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและเป็นเมืองหน้าด่าน ที่สำคัญของเมือง เขลางค์นคร(ลำปาง)เมืองเงินในอดีตมีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งชำนาญการสงครามมีความเชี่ยวชาญในการรบ โดยใช้ของ้าว เป็นอาวุธสำคัญเมื่อข้าศึกจากหัวเมืองลื้อหัวเมืองเขินเข้ามารุกรานก็ไม่อาจรุกล้ำเข้าไปถึงเมืองเขลางค์นครได้ เพราะเมื่อมาถึง เมืองเงินก็ถูกตีแตกพ่ายไปทุกครั้งเจ้าเมืองเงินได้อาสาปราบปรามข้าศึก พวกฮ่อ เงี้ยวที่มารุกรานถึงหัวเมืองเงี้ยว หัวเมืองลื้อ หัวเมืองเขินจนถึงแคว้นสิบสองปันนาได้รับชัยชนะจนเป็นที่ร่ำลือเจ้าเมืองเขลางค์นครได้ประทานง้าวด้ามเงิน เป็นบำเหน็จคุณงามดีและความกล้าหาญ เป็นที่ยินดีแก่ชาวเมืองจึงเรียกเจ้าเมืองว่าพระยาง้าวเงินและเรียกชื่อเมืองว่าเมืองง้าวเงินกาลเวลาผ่านมา ได้เรียกเพี้ยนเป็นเมืองงาว 

วัดจองคำงาว

ตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาวห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตรวัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปางสถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทยใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณเมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการหลังที่เห็นปัจจุบันเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้น เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญวัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปางและเป็นโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปางแต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึงป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมากเจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราชในราชทินนามว่าพระราชปริยัติโยดม


น้ำตกแม่แก้ 



น้ำตกแม่แก้ ตั้งอยู่ในเขต บ้านแม่แก้ อำเภองาว จังหวัดลำปางเป็นน้ำตกขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณ เป็นน้ำตกหินปูนที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของอำเภองาว สูงประมาณ 10เมตรและยังมีชั้นเล็ก ๆ อีก 6 – 7ชั้นมีความอุดมสมบูรณ์ทางระบบนิเวศน์อยู่มาก 

หล่มภูเขียว



ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่บนภูเขา มีเนื้อที่ประมาณ 1-2 ไร่มีลักษณะคล้ายปล่องภูเขาไฟน้ำในแอ่งลึกมากจนมองเห็นเป็นสีเขียวมีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากสภาพป่าเป็นป่าดิบแล้งมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากการเดินทางหล่มภูเขียวอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)จากเส้นทางสายลำปาง-พะเยา เข้าไป ประมาณ 14 กิโลเมตรซึ่งเป็นทางแยกไปสู่หมู่บ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปางเส้นทางเป็นทางลูกรัง จากบ้านอ้อนมีทางเดินเท้าไปหล่มภูเขียว;ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไท


ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองลำปางกับอำเภองาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 66 กิโลเมตร ตรงกิโลเมตรที่ 768-769 แยกเข้าทางลูกรัง ประมาณครึ่งกิโลเมตรรถยนต์เข้าถึงเชิงถ้ำภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยสวยงามมากสลับซับซ้อนและมีถ้ำเล็กถ้ำน้อยมากมายที่มีความสวยงามแตกต่างกันไปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จประพาสถ้ำผาไทในครั้งนั้นได้จารึกพระปรมาภิไธย ย่อ ปปร.ไว้ภายในถ้ำเพื่อเป็นที่ระลึกในการเสด็จประพาส นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมทางอุทยานฯ ไม่มีบ้านพักบริการรายละเอียดให้ติดต่อฝ่ายจัดการอุทยานแห่งชาติ
การเดินทาง ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวลำปาง-เชียงรายอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665 ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยาประมาณ 65 กิโลเมตร หรือจะเดินทางโดยใช้เส้นทางสาย แพร่-งาว-เชียงรายก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ


พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง 


พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ย้อนยุคซึ่งสร้างคุณโดย คุณมานิตย์ วรฉัตร  ด้วยเงินทุนของตนเอง ในอดีตคุณมานิตย์เคย ทำงานเป็นนักพากย์หนังกลางแปลงมาแล้วมากมาย รวมทั้งเป็นทีมงานพากย์พันธมิตรที่ให้เสียงพากย์ภาพยนตร์มากมาย ภายในพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งที่เก็บรวบรวมภาพยนตร์ไทยเรื่องดีและดัง  โปสเตอร์หนังรวมทั้งอุปกรณ์ในการฉายหนังกลางแปลง ประเภทต่างๆ
รายละเอียด ที่ตั้ง 24/2 หมู่ 9 ซอยบ้านท่าเจริญ ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลำปาง  เปิดบริการให้เข้าชมฟรีทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น. ทุกวัน หยุดวันนักขัตฤกษ์ 054-365561,081-0304017 ติดต่อคุณมานิตย์ วรฉัตร


สะพานโยง 

สะพานที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย     เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ.  ๒๔๘๕ ทหารญี่ปุ่นไม่ยอมใช้สะพานนี้ลำเลียงพลและทหารลูกพระอาทิตย์เหล่านั้นได้ร่วมมือกับชาวบ้านช่วยกันอำพรางสะพานนี้ด้วยต้นไม้ใบไม้ต่างๆ ทำให้สะพานนี้กลายเป็นป่าที่เขียวครึ้มไปสะพานโยงจึงรอดจากการบอมบ์ของกองทัพพันธมิตรเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าวิศวะกรผู้ออกแบบและอำนวยการสร้างสะพานเป็นชาวเยอรมันเพื่อนน้ำมิตรของญี่ปุ่นนั่นเอง หากว่าฝรั่งชาติอื่นสร้างสะพานโยงคงจะอายุไม่ถึง ๘๕ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้อย่างแน่นอนสะพานโยงจึงเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอำเภองาว


วัดพระธาตุม่อนทรายนอน



อดีตกาลที่ผ่านมา เมื่อพระโพธิสัตว์ได้เกิดมาเป็นทรายคำ (เนื้อทราย) ในครั้งนั้นมีนายพรานป่าผู้หนึ่งเที่ยวล่าสัตว์เพื่อยังชีพของตนเอง ก็พอดีได้มาพบทรายคำโพธิสัตว์มีลักษณะผิวพรรณผุดผ่องสง่างามดุจทองคำ นายพรานไล่ตามพระโพธิสัตว์ไป ด้วยความเหน็ดเหนื่อยที่ถูกนายพรานไล่ตาพระโพธิสัตว์ได้คาบมะม่วงไว้และไม่ได้คายทิ้งขณะที่วิ่งหนี จนกระทั่งมาถึงภูเขาลูกหนึ่งได้พักนอนและคายเม็ดมะม่วงทิ้ง เขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ม่อนทรายนอน” เม็ดมะม่วงที่คายไว้ได้เจริญงอกงามขึ้นและยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “บุคคลใดจะก่อร่างสร้างแปงหรือจักทำบุญก็ให้บูชาเทวดาองค์ที่รักษาต้นมะม่วงด้วยเครื่องบูชา ช่อเหลือง 8 ช่อ ช่อเขียว 8 ช่อ ข้าวต้ม ขนม กล้วย อ้อย ส้ม ของหวาน ก็จักเป็นสิริมงคลแก่บุคคลผู้นั้นแล “.
พระธาตุม่อนทรายนอน สร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานสร้างครั้งสมัยเชียงแสน สูงจากระดับน้ำทะเล 489 เมตร องค์พระธาตุสูง 56วา เป็นศิลปะล้านนาผสมพม่า ข้างองค์พระธาตุบนดอยมีหลักจารึกด้วยอักษรตัวเมืองเหนือและอักษรพม่าจารึกไว้
เอกสารเผยแพร่งานนมัสการพระธาตุม่อนทรายนอน 3-5 มีนาคม 2520 


                           วัดพระธาตุม่อนทรายเหงา


วัดพระธาตุม่อนทรายเหงา ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.แม่ตีบ อ.งาว จ.ลำปาง ชาวบ้านตำบลแม่ตีบให้ความเคารพนับถือมาช้านาน





ซาโยนาระ


ข้อมูลการให้บริการ ห้องสมุดประชาชนอำเภองาว


ข้อมูลการให้บริการ
          ห้องสมุดประชาชนอำเภองาว  เปิดให้บริการวันจันทร์  - วันเสาร์  ตั้งแต่เวลา  ๐๘.๓๐ น. ๑๖.๓๐.๐๐  น.  หยุดวันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์  การให้บริการภายในห้องสมุด  มีดังต่อไปนี้
-บริการการศึกษาค้นคว้าจากสื่อต่าง ๆ ของห้องสมุดอย่างเสรี  โดยจัดสื่อและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้ใช้ภายในห้องสมุด
-บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
-บริการสมัครสมาชิกห้องสมุด
-บริการยืม คืน ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศนวัสดุ  ยกเว้นสื่อบางประเภทที่ไม่สามารถยืมออกภายนอกได้ เช่น  หนังสืออ้างอิง  พจนานุกรม  สารานุกรม  หนังสือพิมพ์  เป็นต้น
-บริการแนะนำช่วยเหลือในการอ่านและการใช้ห้องสมุด  เป็นบริการที่จัดให้เป็นรายบุคคลสำหรับบุคคลทั่วไป  หรือเป็นกลุ่ม  เช่น  กลุ่มนักเรียนในระบบและกลุ่มนักศึกษา กศน.ทุกระดับชั้น
-บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยจัดบริการสถานที่  วัสดุ  ครุภัณฑ์ภายในห้องสมุดไว้บริการแก่ผู้ใช้บริการ  เช่น  การให้บริการอินเตอร์เน็ต การให้บริการสื่อโสตทัศนวัสดุ เป็นต้น
-บริการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาผ่านดาวเทียม

-จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและกิจกรรมอื่นๆที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
กลุ่มสมาชิกประจำของห้องสมุด  จะใช้บริการอ่านหนังสือ  บริการอินเตอร์เน็ต  บริการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา  บริการยืม-คืน สื่อทุกประเภท พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางห้องสมุดจัดขึ้น โดยจะใช้บริการทุกวัน  เวลาส่วนมากไม่แน่นอน
          กลุ่มนักเรียนในระบบและนักศึกษา กศน. จะใช้บริการอ่านหนังสือทั่วไป  ค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อทำรายงาน  ใช้บริการอินเตอร์เน็ต  โทรทัศน์เพื่อการศึกษา จะใช้บริการในมุมเด็กเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ  และอ่านหนังสือสำหรับเด็กหรือวรรณกรรมเยาวชนบริการยืม-คืนหนังสือและสื่อโสตทัศนวัสดุประเภทการ์ตูน  บริการอินเตอร์เน็ต  โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ในวันปกติจะใช้บริการตั้งแต่เวลา  12.00 - 16.30 น.  วันหยุดและช่วงปิดภาคเรียนตั้งแต่เวลา  08.30 -16.30  น.
          กลุ่มครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน  จะใช้บริการในวันจันทร์-ศุกร์  โดยอ่านหนังสือ  หนังสือพิมพ์  วารสาร  บางครั้งจะใช้บริการสถานที่ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษา กศน. 


สมาชิกห้องสมุดแบ่งออกเป็น  3 ประเภท
นักศึกษา กศน.
บุคลากร กศน.
ประชาชนทั่วไป
การสมัครสมาชิกห้องสมุด
รูปถ่ายหน้าตรง  2  ใบ
สำเนาบัตรประชาชน  1 ใบ
ฟรีค่าสมัครและค่าทำบัตร
*หมายเหตุหากมาสมัครด้วยตนเองไม่ต้องนำรูปถ่ายมาด้วย *

      บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
หนังสือยืมได้ครั้งละ 5  เล่ม / 7 วัน
เกินกำหนดปรับเล่มละ  1  บาท / วัน
สื่อVCD ,VDO,เทปคาสเซ็ท ยืมได้ครั้งละ 3 รายการ / 7 วัน
เกินกำหนดปรับรายการละ 2  บาท / วัน
*แสดงบัตรสมาชิกทุกครั้งที่ยืมสื่อ*

      บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ลงชื่อก่อนใช้ทุกครั้งและระบุรายละเอียดการใช้งาน 
ใช้บริการได้ครั้งละ  2  ชั่วโมง/วัน
ไม่อนุญาตให้ดาวน์โหลดเพลง รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ ที่มีลิขสิทธิ์โดยเด็ดขาด หากฝ่าฝืนจะถูกตัดระบบการใช้งาน  


กิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายในห้องสมุด

ห้องสมุดประชาชนอำเภองาว  เป็นศูนย์การแห่งการศึกษาเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ นักเรียนนักศึกษาของ กศน. และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ทุกคนสามารถหาความรู้ สืบค้นข้อมูลต่างๆได้ตามต้องการ อย่างทั่วถึงในการกิจกรรมภายในห้องสมุดฯ จะเน้นเรื่องส่งเสริมการอ่าน ให้ ผู้มารับบริการมีจิตรักการอ่าน มีจิตสาธารณะที่ดี เพื่อศึกษาเรียนรู้และมีแนวคิดวิธีการ ที่จะปฎิบัติตนอย่างถูกต้องเพื่อนำไปปรับใช่ในชีวิตประจำวัน
กิจกรรมเสาร์หรรษาพาเพลิน เปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ เด็กๆมาร่วมทำกิจกรรม ส่งเสริมการอ่าน ได้แก่ กิจกรรมตอบปัญหาอาเซียนพาเพลิน , กิจกรรมปริศนาทายภาพเพื่อฝึกไหวพริบในการสังเกตและตอบคำถาม   กิจกรรมรักการอ่านสุภาษิตคำพังเพย  ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ช่วยส่งเสริม พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา และไหวพริบในการตอบคำถามทำให้เด็กกล้าคิด กล้าแสดงออก มากขึ้น อีกทั้งบรรณารักษ์ ยังมีของรางวัลแจกให้น้องๆคนเก่งด้วย ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุดฯและผู้ที่มาใช้บริการ มีความประทับใจ  และประชาชน นักเรียน นักศึกษาของ กศน. ให้ความสนใจที่จะมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอและมากขึ้นต่อเนื่อง

 กิจกรรมตอบปัญหาอาเซียนพาเพลิน

         

กิจกรรมรักการอ่านสุภาษิตคำพังเพย
        

กิจกรรมปริศนาทายภาพ
       

กิจกรรม วันสำคัญต่างๆ
      

กิจกรรม วันสำคัญต่างๆ
     

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายนอกห้องสมุดประชาชน
      

             กิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายนอกห้องสมุดประชาชน



แนะนำบรรณารักษ์ ห้องสมุดปประชาชนอำเภองาว



Resume
Miss  BudsabaInkiew
45/1  Moo 4  MaeTipdistrict,Ngao,Lampang Province 52110
                                Mobile:080-7900205  E-mail:budsabaraydy@gmail.com
Personnel Data         
Date of Birth : May,  5 , 1992         Place at Birth   :Ngao, Lampang Province
Nationality     : Thai                        Race    : Thai
กล่องข้อความ: EducationReligion          : Buddhism               Status : Single
: 2010 – 2013 Bachelor of Science(Public Health) inEnvironmental      Health Science from Faculty of Medicine, University of Phayoa

: 2004-2009 High school from PracharatthammakhunSchool,
Lampangprovince
กล่องข้อความ: Trainning
Experience

-October 15, 2013 – January 31, 2014 , Environmental Depertment,analyze water,wastewater&Waste Management at Thai Beverage Public Co., Ltd.
- June 23, 2013 Training ISO9001/ISO 14001/ OHSAS 18000,18001/ Solid waste managementatUniversity of Phayao
- July 7,2013 Training Program Microsoft office Excel For Environmental             Health at Faculty of Medicine, University of Phayoa.
- October 15, 2012 – October 31, 2012 ,Harzadous wastemanagementDok Kham Tai HospitalTopic.                       
Knowledge Base
                        : ISO 14001 and series
                        : ISO 9001:2000
                        : ISO 17025
                        : HACCP, GMP, EIA
                        :WasteManagement,HazardousWaste,Infactious Waste
                        :WaterManagement,Wastewater Management
Extra Curricular
Activity  :a member of Buddhism Club and Environmental Preserved             Club in faculty of medicine
Skill
                        :Good ability in Microsoft Office and Internet
                        :Good command of Read, Spoken and Written English
References
Dr.SanhawatChaiwong
Department of Environmental Health Science(Public Health)
Faculty of Medicine
University of Phayao Tel. 086-9291069

ประวัติ/สถานที่ตั้ง ห้องสมุดประชาชนอำเภองาว

ห้องสมุดประชาชนอำเภองาว  ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดนางเหลียว  ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว โดยมีนางนงนุช  ถาวรวงศ์ เป็นผู้อำนวยการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว และมีนางสาวบุษบา อินเขียว บรรณารักษ์ประจำห้องสมุดประชาชนอำเภองาว ซึ่งห้องสมุดประชาชนอำเภองาว ตั้งอยู่เลขที่  1 หมู่ 3 ถนนพหลโยธิน    อำเภองาว  จังหวัดลำปาง  52110  โทร: 054 -261546 , โทรสาร: 054 -261546                                     

ศูนย์การการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว  ได้รับเงินงบประมาณประจำปี  2537  จำนวน  664,000  บาท (หกแสนหกหมื่นสี่พันบาทถ้วน)  จัดสรรเพื่อสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภองาวประชาชนอำเภองาว  แล้วในปีงบประมาณ  2539  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว  ได้รับการสนับสนุนจากชมรมกำนัน  ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนทั่วไป  จัดสร้างศาลาเอนกประสงค์  (หอประชุม)   จำนวน  1   หลัง  ใช้เงินค่าก่อสร้างจำนวน  200,000   บาท  (สองแสนบาทถ้วน)   ศาลาเอนกประสงค์ดังกล่าวเริ่มใช้ประโยชน์ตั้งแต่เดือน  มกราคม  2539  และปีงบประมาณ  2540  ได้รับเงินสนับสนุนจากชมรมนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว  และวัดนางเหลียวอำเภองาว  ก่อสร้างอาคารพบกลุ่มเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งหลัง  จำนวน  100,000  บาท  (หนึ่งแสนบาทถ้วน)  เริ่มใช้ประโยชน์ตั้งแต่เดือน  สิงหาคม  2540  เป็นต้นมา

 

Sample text

Sample Text

Sample Text

 
Blogger Templates